28.9 C
Bangkok
Wednesday, September 18, 2024

ร่างผังเมืองกรุงเทพมหานครมีเปลี่ยนแปลงหลายจุด

การที่ผังเมืองกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ที่จะนำมาใช้แทนผังเมืองปัจจุบันที่ประกาศใช้มาตั้งแต่ปีพ.ศ.2556 ยังไม่ได้ประกาศใช้ หลังจากที่เลื่อนมาจากปีก่อนหน้านี้

เพราะทางกรุงเทพมหานครต้องการปรับเปลี่ยนหลายๆ พื้นที่ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไปแล้วในปัจจุบัน

ล่าสุด เมื่อวันที่ 8 – 15 มิถุนายนที่ผ่านมา ได้มีการนำร่างผังเมืองกรุงเทพมหานคร ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4 มาให้กลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสมาคมวิชาชีพต่างๆ แสดงความคิดเห็นต่อร่างผังเมืองฉบับนี้

จากนั้นช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2566 จึงจะถึงรอบการรับฟังความคิดเห็นจากส่วนอื่นๆ และประชาชน ซึ่งจากร่างผังเมืองกรุงเทพมหานคร ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4 มีการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนในหลายพื้นที่

การเปลี่ยนแปลงในร่างผังเมืองกรุงเทพมหานคร ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4 ที่นำมาให้ชมเพื่อรับฟังความคิดเห็น แทบเหมือนฉบับเดิมก่อนที่จะประกาศเลื่อนการบังคับใช้ออกไปเลย

เพราะฉบับร่างเมื่อ 3 – 4 ปีก่อนก็เปลี่ยนแปลงในหลายๆ พื้นที่เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพของที่ดินในแต่ละพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไป เพียงแต่ ณ ตอนนั้น เส้นทางรถไฟฟ้าบางเส้นทางยังไม่เสร็จสมบูรณ์

แต่ปัจจุบันเส้นทางรถไฟฟ้าบางเส้นทางมีการเปิดให้บริการแล้ว และบางเส้นทางมีการก่อสร้างอยู่ในตอนนี้

ซึ่งในรายละเอียดของแต่ละพื้นที่อาจจะยังไม่ชัดเจน ณ ตอนนี้ แต่เท่าที่ดูการเปลี่ยนแปลงจะเห็นได้ชัดเจนในหลายพื้นที่ว่ามีการเปลี่ยนเปลี่ยนสีของผังเมือง

นั่นหมายความว่ามีการเปลี่ยนศักยภาพในการใช้ประโยชน์ของที่ดินในหลายพื้นที่เลย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่อยู่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการใหม่ และที่กำลังก่อสร้างอยู่

พื้นที่ที่เห็นได้ชัดเจนว่าเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแน่นอน คือ พื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้างหรือที่เปิดให้บริการใหม่

แต่ในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556 เป็นผังเมืองสีเหลือง คือ พื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย

ซึ่งอาจมีข้อจำกัดในการพัฒนาอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ

ในร่างผังเมืองฉบับบปรับปรุงครั้ง 4 มีการเปลี่ยนสีในพื้นที่เหล่านี้เป็นสีส้ม (พื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง) ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาอาคารมากขึ้น เช่น

พื้นที่ตามแนวถนนศรีนครินทร์ที่เป็นแนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ซึ่งก่อนหน้านี้มีพื้นที่สีส้มบางส่วน และบางส่วนเป็นสีเหลือง แต่ในร่างผังเมืองฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4 เปลี่ยนเป็น “สีส้ม” ทั้งหมด

พื้นที่ตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ประดิษฐ์มนูธรรม รามอินทรา ครอบคลุมพื้นที่ตามแนวถนนทั้ง 3 เส้นทางจากผังเมือง พ.ศ.2556 เป็นสีเหลืองเปลี่ยนเป็น“สีส้ม”ไปถึงมีนบุรี

ซึ่งพื้นที่นี้มีเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม สายสีชมพู และในอนาคตจะมีสายสีน้ำตาลที่เพิ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

และในบางพื้นที่ที่ก่อนหน้านี้เป็นพื้นที่สีแดงอยู่แล้วมีการขยายพื้นที่ครอบคลุมให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น

มีนบุรีซึ่งเป็นพื้นที่ที่ครอบคลุมสถานีปลายทางของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม และสีชมพู

พื้นที่ตามแนวถนนพหลโยธิน และวิภาวดี-รังสิตในช่วงสนามบินดอนเมือง ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นสีเหลือง แต่เมื่อมีถนนเส้นทางใหม่อย่างเทพรักษ์ เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง และถนนเชื่อมระหว่างถนนวิภาวดี-รังสิต และพหลโยธิน

ทำให้พื้นที่ตามแนวถนนทั้ง 2 เส้นทางนี้เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะตามแนวถนนพหลโยธินหรือเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ในร่างผังเมืองฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4 นี้เปลี่ยนเป็นสีส้ม และสีแดงในพื้นที่รอบสถานีดอนเมืองของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงฝั่งตรงข้ามสนามบินดอนเมืองเพื่อรองรับพื้นที่พาณิชยกรรมในอนาคต

เพียงแต่พื้นที่นี้ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของความสูงอาคารจากเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ สนามบินดอนเมือง พ.ศ. 2540 ทำให้สร้างอาคารสูงไม่ได้

Recent Articles

‘ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ผนึกพาร์ทเนอร์ รุกอสังหาฯ สีเขียว

ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ปูทางสู่อนาคต “สิ่งแวดล้อมที่ดี ธุรกิจเติบโตยั่งยืน” ดันนวัตกรรมปูนซีเมนต์-คอนกรีตคาร์บอนต่ำ สู่การใช้งานในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างของไทย ผ่านโมเดลความร่วมมือกับพันธมิตร ร่วมลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ มุ่งมั่นสร้างการมีส่วนร่วมกับพันธมิตร ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เดินหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2573 นายมนตรี นิธิกุล...

แลนดี้ โฮม จับมือ Gluta Story เปิดตัวแบบบ้านใหม่

ศูนย์รับสร้างบ้านแลนดี้ โฮม (Landy Home) ตอกย้ำภาพผู้นำตลาดรับสร้างบ้าน จับมือ “Gluta Story” Influencer ชื่อดังสายสัตว์เลี้ยง ขวัญใจคนรักสัตว์ พัฒนาแบบบ้านใหม่ “Pet Friendly Collection” เจาะกลุ่มตรงใจสาย Pet Lover 2 แบบ 2 สไตล์...

กลุ่มรัตนรักษ์เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในปูนซีเมนต์นครหลวง

ในวันนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของปูนซีเมนต์นครหลวงได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมในจำนวนร้อยละ 25.54 จาก Jardine Cycle & Carriage Limited ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มรัตนรักษ์รวมกันเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 71.88 ซึ่งการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ทำให้ต้องมีการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นรายย่อยตามมา ทั้งนี้ บริษัทเข้าใจว่า ไม่ว่าการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวจะมีผลเป็นอย่างไร ปูนซีเมนต์นครหลวงจะยังคงเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจดทะเบียนที่เกี่ยวข้อง โดยภายหลังการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ ในฐานะผู้ก่อตั้งปูนซีเมนต์นครหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุมเพียงรายเดียว

ครั้งแรกของประเทศ! “LIV-24” ผนึก “ภาครัฐผู้กำกับนโยบายอุตสาหกรรม”

• ปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของประเทศไทย ภาครัฐ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม กนอ. และ สภาอุตสาหกรรม ผนึกกำลังภาคเอกชน โดย LIV-24 จัดงานใหญ่แห่งปี ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่ยุคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วย AI และ INDUSTRIAL TECH • ผู้ประกอบการเร่งปรับตัว...

‘พาร์คสีลม’ ต้อนรับเจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์)

“พาร์ค สีลม” อาคารสำนักงานเกรดเอ เปิดบ้านต้อนรับ เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) เปิดสำนักงานใหม่ ใจกลางถนนสีลม นางอรฤดี ณ ระนอง กรรมการบริหาร บริษัท นายณ์ แอนด์ อาร์จีพี ดีเวลลอปเม้นท์...