ลำดับชั้นของสินเชื่อ

ตอนนี้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแล้ว แต่ก็ยังพอใช้อ้างอิงได้

3

ธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารพาณิชย์ในไทยทุกแห่ง

มีการแบ่งลำดับชั้นของสินเชื่อไว้เป็น 6 ระดับ

เพื่อจะได้แบ่งกลุ่มของลูกหนี้ว่าอยู่ในระดับใด และเพื่อเข้าใจว่าลูกหนี้มีปัญหามากน้อยเพียงใด

ซึ่งจะทำให้ธนาคารสามารถคาดการณ์ว่าลูกหนี้รายใดจะกำลังจะมีปัญหา เพื่อจะได้เตรียมรับมือได้ทัน

ทั้ง 5 ระดับแบ่งตามการขาดส่งการผ่อนชำระรายเดือน คือ

  1. ปกติ คือค้างชำระ < 1 เดือน
  2. กล่าวถึงเป็นพิเศษ คือ ค้างชำระ > 1 เดือน แต่≤ 3 เดือน
  3. ต่ำกว่ามาตรฐาน คือ ค้างชำระ > 3 เดือน แต่ ≤ 6 เดือน
  4. สงสัย คือ ค้างชำระ > 6 เดือน แต่ ≤ 12 เดือน
  5. สงสัยจะสูญ คือ ค้างชำระ > 12 เดือน
  6. สูญ คือ NPL

ซึ่งระดับชั้นที่ธนาคารจะเริ่มให้ความสนใจ คือ ชั้นที่ 2 กล่าวถึงเป็นพิเศษ

เพราะทันทีที่ลูกหนี้ขาดส่งเงินผ่อนชำระมากกว่า 1 เดือนขึ้นไปแต่ยังไม่เกิน 3 เดือนติดต่อกัน

แสดงว่าลูกหนี้มีปัญหาแล้วแน่นอน และถ้าเงียบหายไม่มีการเข้ามาเจรจากับธนาคาร

ธนาคารจะต้องกันเงินสำรอง 2%  ของมูลค่าหลักประกันทันทีแต่เมื่อใดก็ตามที่สินเชื่อนี้ค้างจ่ายเกิน 3 เดือนขึ้นไป เข้าสู่ระดับ 4 สงสัย

ธนาคารต้องตั้งสำรอง 100% ของยอดหนี้คงค้าง – (PV ของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากลูกหนี้ หรือจากการขายหลักประกัน)

ดังนั้น สถาบันการเงินจึงต้องให้ความสนใจกับเงินให้สินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษมาก เพื่อลดภาระของเงินกันสำรองที่จะเกิดขึ้นตามมาเมื่อค้างชำระเกิน 3 เดือนขึ้นไป