26.8 C
Bangkok
Saturday, July 27, 2024

กรุงเทพมหานครจ้องที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแบบปลอมๆ

เมื่อวันที่ 26 กันยายน ที่ผ่านมา มีการประชุมของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่มีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน

โดยหัวข้อในการประชุม คือ การพิจารณากรณีกรุงเทพมหานคร (กทม.) จะปรับเพิ่มอัตราการจัดเก็บภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ประเภทที่ดินเกษตรกรรมแยกย่อยตามโซนผังเมืองรวม

โดยเน้นไปที่ผังเมืองในโซนสีต่อไปนี้ โซนสีแดงที่ดินประเภทพาณิชยกรรม โซนสีน้ำตาลที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก โซนสีม่วงที่ดินประเภทอุตสาหกรรม และโซนสีเม็ดมะปรางที่ดินประเภทคลังสินค้า

ถ้าเจ้าของที่ดินในพื้นที่โซนผังเมืองสีที่กล่าวไปแล้วมีการเปลี่ยนการใช้ประโยชน์เป็นการเกษตรกรรม เช่น การปลูกล้วย มะม่วง มะนาว หรือต้นไม่ชนิดอื่น รวมไปถึงการเลี้ยงสัตว์

เพราะไม่ต้องการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตราของที่ดินรกร้างว่างเปล่า และเสียภาษีที่ดินฯ ในอัตราที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม

ซึ่งทางกรุงเทพมหานครมองว่าเป็นการใช้ประโยชน์บนที่ดินที่ไม่สอดคล้องกับศักยภาพ และต้องการเก็บภาษีที่ดินฯ ในอัตราสูงสุดแบบเต็มเพดานของที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม คือ 0.15% หรือเพิ่มขึ้น 15 เท่าจากอัตราเดิมที่ 0.01 – 0.1% (ตามมูลค่าที่ดิน)

โดยผลของการพิจารณาออกมาแล้วว่า ในเบื้องต้นไม่สามารถดำเนินการตามที่กรุงเทพมหานครต้องการได้

เนื่องจากคณะกรรมการฯ มองว่าเป็นการเก็บภาษีประเภทใหม่ ซึ่งอาจจะขัดกับ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ที่ประกาศและบังคับใช้ไปแล้ว 

และอาจจะเกิดความลักลั่นของการบังคับใช้กฎหมายได้

อย่างไรก็ตามหากทางกรุงเทพมหานครยังต้องการจะเดินหน้าเรื่องนี้ต่อไป ก็ต้องส่งเรื่องนี้ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา เพื่อให้ตีความว่าสามารถทำได้หรือไม่

หรือกรุงเทพมหานครจะปรับอัตราจัดเก็บภาษีที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมในกรุงเทพมหานครให้เพิ่มแบบเป็นขั้นบันไดก็ได้ เพราะกฎหมายเปิดช่องให้กรุงเทพมหานครหรือหน่วยงานท้องถิ่นที่มีอำนาจในการจัดเก็บภาษีที่ดินฯ สามารถทำได้อยู่แล้ว เช่น ปัจจุบันเก็บในอัตรา 0.01-0.1% อาจจะปรับเป็น 0.02-0.15% เป็นต้น

ซึ่งดูแล้วทางกรุงเทพมหานครคงยังไม่จบง่ายๆ แน่นอน ยังต้องติดตามต่อไป

Recent Articles

กลุ่ม SMEs อสังหาฯ เดินหน้าปรับตัว ตั้งการ์ดสู้วิกฤต

กลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวเนื่องกับภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ออกแบบ โรงงานวัสดุก่อสร้าง กลุ่มผู้ประกอบการด้านการตกแต่งสถานที่และการจัดสวน ได้รวมตัวกันเพื่อแสดงจุดยืน ขอความเห็นใจและเรียกร้องทุกภาคส่วนร่วมเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจ และส่งเสียงถึงรัฐบาลเร่งมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ให้มากขึ้นอย่างเร่งด่วน เพื่อให้สามารถพยุงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้เดินหน้าผ่านวิกฤตเศรษฐกิจชะลอตัวในครั้งนี้ไปได้ ซึ่งได้มีการเตรียมพร้อมและวางแผนการทำงานอย่างรอบคอบ ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ มาอย่างต่อเนื่องแล้ว แต่ปัจจุบันภาคอสังหาริมทรัพย์เองก็ได้รับผลกระทบมาเป็นระยะๆ ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ทั้งต้นน้ำและปลายน้ำของ Supply Chain ได้รับผลกระทบแบบโดมิโน จนอาจถึงขั้นต้องปิดกิจการเป็นจำนวนมาก  

‘แลนดี้ โฮม’ บุกเชียงใหม่!

แลนดี้ โฮม เปิดตลาดภาคเหนือ ปักหมุดเชียงใหม่ พื้นที่เศรษฐกิจขยายตัวสูง ชูนวัตกรรมบ้านสุขภาพดี สร้างบ้านพร้อมติดตั้งระบบป้องกันฝุ่น PM 2.5 ไปกับตัวบ้าน เจาะกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสร้างบ้านหลังใหญ่ที่มีความกังวลปัญหามลพิษทางอากาศ, ไม่มีเวลาควบคุมงาน รวมถึงต้องการให้บริษัทที่มีความเป็นมืออาชีพเข้ามาดูแลในทุกขั้นตอน พร้อมทุ่มงบกว่า 50 ล้านบาท ในการเปิดสาขาและสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักกับคนในพื้นที่ ตั้งเป้ายอดขาย 100 ล้านบาทในปี 2567 พิเศษ!...

กลุ่มสยามสินธร จับมือ Wake Up Waste

กลุ่มสยามสินธร ยึดมั่นแนวทางองค์กรธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีแห่งความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง จับมือพันธมิตร Wake Up Waste แพลตฟอร์มบริหารจัดการ ซื้อขายขยะรีไซเคิล และรถบีบอัดช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการขยะ จากบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC เจ้าของรางวัล Gold Award จากเวที Marketing Award...

AWC เปิดโครงการ “Phenix” ศูนย์กลางด้านอาหารครบวงจรระดับโลก

กรุงเทพฯ 26 มิถุนายน 2567 – นายกรัฐมนตรี สถานทูต ภาครัฐ ภาคเอกชนวงการอาหาร และบริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จํากัด (มหาชน) หรือ AWC ร่วมรวมพลังเปิดโครงการ “Phenix” (ฟีนิกซ์)...

TCMA ผนึกทุกภาคส่วนเร่งเดินหน้า

TCMA สานต่อความสำเร็จประชุมสุดยอดผู้นำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ทั่วโลก “GCCA CEO Gathering and Leaders Conference 2024” ผนึกทุกภาคส่วนเดินหน้าสู่การบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี 2593 มุ่งหน้าเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด คู่ขนานพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมดักจับ/ใช้ประโยชน์/กักเก็บคาร์บอน พร้อมบริหารจัดการกรีนฟันด์ 212 ล้านบาทให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตอบสนองเป้าหมาย Net Zero 2050