35.8 C
Bangkok
Monday, September 16, 2024

คอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า

คอนโดมิเนียมส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานครจะอยู่ในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า

ปัจจัยหนึ่งคือ ราคาที่ดินที่สูงเกินกว่าจะพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นๆ

การพัฒนาที่ดินเป็นโครงการคอนโดมิเนียมเป็นเทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดแล้ว

อีกทั้ง โครงการคอนโดมิเนียมก็จำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ไกลจากแนวเส้นทางรถไฟฟ้า

ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการเลือกเปิดขายโครงการคอนโดมิเนียมในทุกพื้นที่ทั่วกรุงเทพมหานคร

ไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าต้องเป็นพื้นที่ที่อยู่ในแนวเส้นทางรถไฟฟ้าเท่านั้น

โดยเฉพาะในช่วงปีพ.ศ.2558 – 2560 ซึ่งยังเป็นช่วงเวลาที่เส้นทางรถไฟฟ้าหลายเส้นทางยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

เส้นทางรถไฟฟ้าหลายเส้นทาง เช่น สายสีเขียวตอนเหนือ สายสีน้ำเงิน สายสีแดง และสายสีทอง

ทยอยเปิดให้บริการในช่วงปีพ.ศ.2563 – 2564 พื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าจึงมีขนาดพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้น

จึงอาจจะดูเหมือนว่าจำนวนคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว

มีจำนวนที่ลดลงและไม่ได้แตกต่างจากพื้นที่ที่เหลือของกรุงเทพมหานคร

แต่ในความเป็นจริง โครงการคอนโดมิเนียมจำนวนมากเปิดขายในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว

แต่เป็นพื้นที่ที่อยู่ในแนวเส้นทางที่ไกลออกไปจากใจกลางกรุงเทพมหานคร

จำนวนคอนโดมิเนียมสะสมในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วในกรุงเทพมหานคร

โดยจากจำนวนคอนโดมิเนียมที่เปิดขายในกรุงเทพมหานครมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2557

พบว่าคอนโดมิเนียมที่เปิดขายในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วอยู่ประมาณ 212,500 ยูนิต

โดยส่วนใหญ่เป็นคอนโดมิเนียมที่เปิดขายในช่วงก่อนปีพ.ศ.2561

แม้ว่าในช่วงตั้งแต่ปีพ.ศ.2563 เป็นต้นมา จะมีเส้นทางรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย และเส้นทางใหม่เปิดให้บริการอีก 3 – 4 เส้นทางก็ตาม

แต่ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่ตลาดคอนโดมิเนียมอยู่ในช่วงชะลอตัวพอดี

แม้ว่าผู้ประกอบการจะยังเปิดขายโครงการคอนโดมิเนียมที่มีราคาขายไม่สูงมากก็ตาม

แต่เลือกที่จะเปิดขายโครงการใหม่ๆ ในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่ไกลออกไปจากพื้นที่เมืองชั้นใน

หรือเปิดขายโครงการคอนโดมิเนียมในพื้นที่ที่อยู่ในซอย หรือถนนสายรอง

แต่จำนวนคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว

มีจำนวนที่น้อยกว่าช่วงก่อนปีพ.ศ.2563 แบบชัดเจน

เพราะการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และกำลังซื้อที่ลดลง

เส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการในกรุงเทพมหานครตั้งแต่ปีพ.ศ.2542 และเส้นทางรถไฟใต้ดินในปีพ.ศ.2547

จากนั้นจึงมีส่วนต่อขยายที่ต่อเนื่องจาก 2 เส้นทางข้างต้น และเส้นทางใหม่ๆ มากขึ้นในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา

ซึ่งแน่นอนว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินในพื้นที่ตลอดแนวเส้นทาง

โครงการคอนโดมิเนียมจึงเกิดขึ้นต่อเนื่องในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า

จนเมื่อราคาที่ดินในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าทั้ง 2 เส้นทางมีการปรับเพิ่มขึ้นไปจนสูงมาก

ถ้าจะพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมก็ต้องเปิดขายที่ราคาขายไม่ต่ำกว่า 150,000 บาทต่อตารางเมตร ขึ้นไปถึงมากกว่า 300,000 บาทต่อตารางเมตร

พื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้าง (ในตอนนั้น) ที่ขยายออกไปในพื้นที่นอกใจกลางเมืองได้รับความสนใจมากขึ้น

โดยเฉพาะเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (หมอชิต – ท่าพระ และหัวลำโพง – หลักสอง)

ซึ่งมีคอนโดมิเนียมเปิดขายสะสมรวมกันแล้วไม่ต่ำกว่า 65,500 ยูนิต

มีหลายพื้นที่ของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่มีโครงการคอนโดมิเนียมอยู่ในพื้นที่เดียวกันมากกว่า 5 โครงการ

ทั้งในพื้นที่ตามแนวถนนประชาราษฎร์สาย 2 จรัญสนิทวงศ์ และเพชรเกษม

ในขณะที่พื้นที่ตามแนวเสนทางรถไฟฟ้าอื่นๆ เห็นได้ชัดเจนว่ามีจำนวนคอนโดมิเนียมเปิดขายสะสมน้อยกว่ามากนัก

Recent Articles

‘ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ผนึกพาร์ทเนอร์ รุกอสังหาฯ สีเขียว

ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ปูทางสู่อนาคต “สิ่งแวดล้อมที่ดี ธุรกิจเติบโตยั่งยืน” ดันนวัตกรรมปูนซีเมนต์-คอนกรีตคาร์บอนต่ำ สู่การใช้งานในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างของไทย ผ่านโมเดลความร่วมมือกับพันธมิตร ร่วมลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ มุ่งมั่นสร้างการมีส่วนร่วมกับพันธมิตร ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เดินหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2573 นายมนตรี นิธิกุล...

แลนดี้ โฮม จับมือ Gluta Story เปิดตัวแบบบ้านใหม่

ศูนย์รับสร้างบ้านแลนดี้ โฮม (Landy Home) ตอกย้ำภาพผู้นำตลาดรับสร้างบ้าน จับมือ “Gluta Story” Influencer ชื่อดังสายสัตว์เลี้ยง ขวัญใจคนรักสัตว์ พัฒนาแบบบ้านใหม่ “Pet Friendly Collection” เจาะกลุ่มตรงใจสาย Pet Lover 2 แบบ 2 สไตล์...

กลุ่มรัตนรักษ์เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในปูนซีเมนต์นครหลวง

ในวันนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของปูนซีเมนต์นครหลวงได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมในจำนวนร้อยละ 25.54 จาก Jardine Cycle & Carriage Limited ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มรัตนรักษ์รวมกันเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 71.88 ซึ่งการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ทำให้ต้องมีการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นรายย่อยตามมา ทั้งนี้ บริษัทเข้าใจว่า ไม่ว่าการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวจะมีผลเป็นอย่างไร ปูนซีเมนต์นครหลวงจะยังคงเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจดทะเบียนที่เกี่ยวข้อง โดยภายหลังการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ ในฐานะผู้ก่อตั้งปูนซีเมนต์นครหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุมเพียงรายเดียว

ครั้งแรกของประเทศ! “LIV-24” ผนึก “ภาครัฐผู้กำกับนโยบายอุตสาหกรรม”

• ปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของประเทศไทย ภาครัฐ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม กนอ. และ สภาอุตสาหกรรม ผนึกกำลังภาคเอกชน โดย LIV-24 จัดงานใหญ่แห่งปี ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่ยุคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วย AI และ INDUSTRIAL TECH • ผู้ประกอบการเร่งปรับตัว...

‘พาร์คสีลม’ ต้อนรับเจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์)

“พาร์ค สีลม” อาคารสำนักงานเกรดเอ เปิดบ้านต้อนรับ เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) เปิดสำนักงานใหม่ ใจกลางถนนสีลม นางอรฤดี ณ ระนอง กรรมการบริหาร บริษัท นายณ์ แอนด์ อาร์จีพี ดีเวลลอปเม้นท์...