28.9 C
Bangkok
Wednesday, September 18, 2024

คอนโดมิเนียมในพื้นที่รอบๆ ห้าแยกลาดพร้าว

พื้นที่รอบๆ ห้าแยกลาดพร้าวก่อนหน้านี้ก็มีความพร้อมและมีศักยภาพมากเพียงพอที่จะกลายเป็นจุดศูนย์รวมของการอยู่อาศัยอยู่แล้ว

เพราะมีทั้งศูนย์การค้า สถาบันการศึกษา และไม่ไกลจากสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียง รวมไปถึงมีแหล่งงานขนาดใหญ่

เพราะมีอาคารสำนักงานจำนวนมากในรัศมีไม่เกิน 3 กิโลเมตรจากห้าแยกลาดพร้าว ยังมีอาคารสำนักงานที่กำลังก่อสร้างอีก

ความพร้อมต่างๆ มีอยู่แล้ว แต่อาจจะขาดแคลนที่ดินเพื่อการพัฒนา เพราะที่ดินต่างๆ มีการพัฒนามาต่อเนื่องตั้งแต่ในอดีตแล้ว แทบจะหาที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ได้ยากมากในพื้นที่โดยรอบห้าแยกลาดพร้าว

ราคาที่ดินก็ค่อนข้างสูง เพราะที่ดินมีน้อย และศักยภาพเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

ราคาที่ดินที่ปรับขึ้นมามากกว่าเท่าตัวจากช่วง 4 – 5 ปีก่อนหน้านี้ บางพื้นที่เช่น รอบๆ ห้าแยกลาดพร้าวราคาที่ดินขึ้นไปมากกว่า 1.5 ล้านบาทต่อตารางวาแล้ว รัชโยธินก็มากกว่า 1 ล้านบาทต่อตารางวาแล้วเช่นกัน

ซึ่งมีผลต่อการตั้งราคาขายคอนโดมิเนียมในพื้นที่ด้วยเช่นกัน คอนโดมิเนียมในพื้นที่ตั้งแต่ห้าแยกลาดพร้าวไปถึงสี่แยกรัชโยธิน

ถ้าเป็นโครงการที่ติดกับถนนพหลโยธินล้วนมีราคาขายที่มีมากกว่า 150,000 บาทต่อตารางเมตรไปแล้ว หลายโครงการมีราคาขายมากกว่า 180,000 บาทต่อตารางเมตร แม้ว่าจะเป็นโครงการที่เปิดขายมาก่อนหน้านี้ 3 – 4 ปีแล้วก็ตาม

โครงการคอนโดมิเนียมในพื้นที่รอบๆ ห้าแยกลาดพร้าวต่อเนื่องถึงสถานีพหลโยธิน 24 ก็มีไม่น้อย และมีบางโครงการที่เปิดขายมาก่อนที่จะเริ่มการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้า

แต่พอการก่อสร้างส่วนต่อขยายของเส้นทางรถไฟฟ้าเริ่มขึ้นจึงเริ่มเห็นโครงการคอนโดมิเนียมเข้ามาเปิดขายใหม่ในพื้นที่ตั้งแต่ห้าแยกลาดพร้าวขึ้นไปถึงรอบๆ สี่แยกรัชโยธินมากขึ้นอีกครั้ง

คอนโดมิเนียมรวมในพื้นที่รอบๆ ห้าแยกลาดพร้าวอยู่ที่ประมาณ 12,000 ยูนิต แต่อัตราการขายก็ค่อนข้างสูง

เพราะมีอัตราการขายเฉลี่ยที่เกือบๆ 90% ไปแล้ว เพราะศักยภาพของพื้นที่ในปัจจุบัน และการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นในพื้นที่หลังจากนี้อีกไม่กี่ปีที่สามารถมองเห็นได้ในตอนนี้

การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงของพื้นที่รอบๆ ห้าแยกลาดพร้าวน่าจะเริ่มชัดเจนในปีพ.ศ.2565 เพราะการที่กลุ่มเซ็นทรัลประกาศว่าจะพัฒนาโครงการมิกซ์-ยูสขนาดใหญ่ในพื้นที่เดิมของกลุ่มจีแลนด์ และบีทีเอส

ซึ่งหลังจากที่กลุ่มเซ็นทรัลเข้าเทกโอเวอร์กลุ่มจีแลนด์ จากนั้นซื้อหุ้นในบริษัทที่ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงใหญ่ประมาณ 46 ไร่มาจากกลุ่มบีทีเอส และได้ที่ดินแปลงนี้มาเป็นเจ้าของเพียงคนเดียว

จึงเริ่มชัดเจนในทิศทางการพัฒนาโครงการนี้ ซึ่งแบ่งการพัฒนาเป็นหลายเฟส โดยเฟสที่ 1 เป็นศูนย์การค้าาขนาดใหญ่ที่จะเข้ามาเพิ่มศักยภาพของพื้นที่ จากนั้นเฟสต่อๆ ไปจะเป็นเรื่องของอาคารสำนักงาน และที่อยู่อาศัย ซึ่งคาดว่าอาจจะต้องรออีก 3 – 4 ปีจึงจะเสร็จทุกเฟส 

แต่เพียงเท่านี้ก็เห็นได้ชัดเจนแล้วว่าพื้นที่นี้มีศักยภาพสูงเพียงใด

ก่อนหน้านี้มีที่ดินอีก 1 แปลงที่เคยเป็นแดนเนรมิตเก่าขนาดประมาณ 33 ไร่ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะมีการพัฒนาเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ แต่คงต้องรอไปอีกสักระยะ

เพราะเปลี่ยนการใช้ประโยชน์เป็นตลาดกลางคืน “จ๊อดแฟร์” ไปแล้ว ซึ่งเป็นรูปแบบการใช้ประโยชนัที่ดินที่ได้รับความสนใจจากเจ้าของที่ดินแปลงใหญ่หลายแปลงในกรุงเทพมหานครพูดถึงตลาดกลางคืน

ยังมีอีก 1 ตลาดที่น่าสนใจในพื้นที่ใกล้ๆ คือ ตลาดกรีนวินเทจที่สี่แยกรัชโยธิน

Recent Articles

‘ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ผนึกพาร์ทเนอร์ รุกอสังหาฯ สีเขียว

ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ปูทางสู่อนาคต “สิ่งแวดล้อมที่ดี ธุรกิจเติบโตยั่งยืน” ดันนวัตกรรมปูนซีเมนต์-คอนกรีตคาร์บอนต่ำ สู่การใช้งานในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างของไทย ผ่านโมเดลความร่วมมือกับพันธมิตร ร่วมลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ มุ่งมั่นสร้างการมีส่วนร่วมกับพันธมิตร ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เดินหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2573 นายมนตรี นิธิกุล...

แลนดี้ โฮม จับมือ Gluta Story เปิดตัวแบบบ้านใหม่

ศูนย์รับสร้างบ้านแลนดี้ โฮม (Landy Home) ตอกย้ำภาพผู้นำตลาดรับสร้างบ้าน จับมือ “Gluta Story” Influencer ชื่อดังสายสัตว์เลี้ยง ขวัญใจคนรักสัตว์ พัฒนาแบบบ้านใหม่ “Pet Friendly Collection” เจาะกลุ่มตรงใจสาย Pet Lover 2 แบบ 2 สไตล์...

กลุ่มรัตนรักษ์เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในปูนซีเมนต์นครหลวง

ในวันนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของปูนซีเมนต์นครหลวงได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมในจำนวนร้อยละ 25.54 จาก Jardine Cycle & Carriage Limited ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มรัตนรักษ์รวมกันเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 71.88 ซึ่งการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ทำให้ต้องมีการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นรายย่อยตามมา ทั้งนี้ บริษัทเข้าใจว่า ไม่ว่าการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวจะมีผลเป็นอย่างไร ปูนซีเมนต์นครหลวงจะยังคงเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจดทะเบียนที่เกี่ยวข้อง โดยภายหลังการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ ในฐานะผู้ก่อตั้งปูนซีเมนต์นครหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุมเพียงรายเดียว

ครั้งแรกของประเทศ! “LIV-24” ผนึก “ภาครัฐผู้กำกับนโยบายอุตสาหกรรม”

• ปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของประเทศไทย ภาครัฐ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม กนอ. และ สภาอุตสาหกรรม ผนึกกำลังภาคเอกชน โดย LIV-24 จัดงานใหญ่แห่งปี ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่ยุคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วย AI และ INDUSTRIAL TECH • ผู้ประกอบการเร่งปรับตัว...

‘พาร์คสีลม’ ต้อนรับเจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์)

“พาร์ค สีลม” อาคารสำนักงานเกรดเอ เปิดบ้านต้อนรับ เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) เปิดสำนักงานใหม่ ใจกลางถนนสีลม นางอรฤดี ณ ระนอง กรรมการบริหาร บริษัท นายณ์ แอนด์ อาร์จีพี ดีเวลลอปเม้นท์...