26.9 C
Bangkok
Friday, September 13, 2024

สายสีชมพูเปิดบริการบางส่วนปีนี้

เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ซึ่งมีระยะทางกว่า 34.5 กิโลเมตรจำนวนสถานีตลอดทั้งเส้นทาง คือ 30 สถานี

ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการบางส่วนได้ภายในปีพ.ศ.2566 จากนั้นเปิดให้บริการแบบเต็มรูปแบบในปีพ.ศ.2567

เป็นเส้นทางรถไฟฟ้ารางเบาอีก 1 เส้นทางที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมจังหวัดนนทบุรี และกรุงเทพมหานครทางตอนเหนือ รวมไปถึงช่วยให้คนที่ต้องการเดินทางเข้ากรุงเทพมหานครชั้นในจากพื้นที่กรุงเทพมหานครตอนเหนือ หรือจากจังหวัดนนทบุรีมีความสะดวกมากขึ้น

และเป็นอีก 1 ทางเลือกของคนในจังหวัดนนทบุรีที่ต้องการเข้ากรุงเทพมหานคร แต่ไม่ต้องการเข้าพื้นที่เมืองชั้นใน

เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าอีก 1 เส้นทางที่ไม่ได้มีเส้นทางเข้าเมืองชั้นในโดยตรง เช่นเดียวกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

พื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูตั้งแต่ถนนติวานนท์ แจ้งวัฒนะในจังหวัดนนทบุรี และแจ้งวัฒนะ รามอินทราใน กรุงเทพมหานคร

เป็นพื้นที่ที่มีโครงการบ้านจัดสรรราคาไม่แพงอยู่จำนวนมาก ซึ่งทำให้ตัวเลือกสำหรับคนที่สนใจซื้อที่อยู่อาศัยในทำเลนี้มีมากกว่าคอนโดมิเนียมแน่นอน

ดังนั้น ผู้ประกอบการหลายรายจึงเลือทกี่จะเปิดขายโครงการคอนโดมิเนียมในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูไม่มาก เมื่อเทียบกับเส้นทางรถไฟฟ้าอื่นๆ

จำนวนยูนิตของคอนโดมิเนียมที่เปิดขายใหม่ในแต่ละปีมีไม่มากนัก

บ้านจัดสรรในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูมีราคาขายอยู่ในช่วงไม่เกิน 3 ล้านบาทค่อนข้างมาก

ซึ่งเป็นระดับราคาขายที่ไม่แตกต่างจากคอนโดมิเนียมที่เปิดขายในพื้นที่นี้เช่นกัน

อีกทั้งได้รับความสนใจที่ค่อนข้างมาก อัตราการขายมากกว่า 85% จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้จำนวนคอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้นในแต่ละปีไม่มากนัก

พื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูตั้งแต่ถนนติวานนท์ แจ้งวัฒนะในจังหวัดนนทบุรี และแจ้งวัฒนะ รามอินทราใน กรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่ที่มีโครงการบ้านจัดสรรราคาไม่แพงอยู่จำนวนมาก

ซึ่งทำให้ตัวเลือกสำหรับคนที่สนใจซื้อที่อยู่อาศัยในทำเลนี้มีมากกว่าคอนโดมิเนียมแน่นอน

ดังนั้น ผู้ประกอบการหลายรายจึงเลือทกี่จะเปิดขายโครงการคอนโดมิเนียมในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูไม่มาก เมื่อเทียบกับเส้นทางรถไฟฟ้าอื่นๆ

จำนวนยูนิตของคอนโดมิเนียมที่เปิดขายใหม่ในแต่ละปีมีไม่มากนัก

บ้านจัดสรรในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูมีราคาขายอยู่ในช่วงไม่เกิน 3 ล้านบาทค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นระดับราคาขายที่ไม่แตกต่างจากคอนโดมิเนียมที่เปิดขายในพื้นที่นี้เช่นกัน

อีกทั้งได้รับความสนใจที่ค่อนข้างมาก อัตราการขายมากกว่า 85% จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้จำนวนคอนโดมิเนียมในพื้นที่นี้เพิ่มขึ้นไม่มากนัก 

คอนโดมิเนียมสะสมในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู ณ ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 26,270 ยูนิต ซึ่งในช่วงตั้งแต่ปีพ.ศ.2561 เป็นต้นมาเป็นช่วงเวลาที่มีคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ไม่มากนัก

นอกจากจะเป็นเรื่องของในพื้นที่นี้มีบ้านจัดสรรในระดับราคาขายที่ไม่แตกต่างกันมากแล้ว ยังมีเรื่องของข้อจำกัดในการพัฒนาจากผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร

ซึ่งมีข้อจำกัดในการพัฒนาอาคารที่มีพื้นที่มากกว่า 10,000 ตารางเมตรในบางพื้นที่ของถนนรามอินทรา มีเพียงบางพื้นที่ที่สามารถพัฒนาอาคารที่มีพื้นที่มากกว่า 10,000 ตาราเมตรขึ้นไป

ผู้ประกอบการบางรายอาจจะรอให้ผังเมืองกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ประกาศใช้ก่อนจึงจะเปิดขายโครงการคอนโดมิเนียมก็เป็นไปได้

เพราะอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของข้อจำกัดในการพัฒนาในพื้นที่ตามแนวถนนรามอินทรา

ราคาที่ดินในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าต่างๆ มีการปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาโดยตลอด

บางเส้นทางปรับเพิ่มขึ้น 1 เท่าในช่วงหลายปีเลย เพราะอาจจะเป็นที่ดินที่ไม่เคยมีการพัฒนามาก่อน

พอเส้นทางรถไฟฟ้ามา ที่ดินศักยภาพเปลี่ยนราคาที่ดินจึงปรับเพิ่มสูงมาก เพียงแต่อาจจะใช้เวลาหลายปี

ราคาที่ดินตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูมีการปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ในช่วงประมาณ 3 – 7% ต่อปี

โดยราคาที่ดินในช่วงตั้งแต่ถนนติวานนท์ ต่อเนื่องถึงถนนแจ้งวัฒนะ และวงเวียนหลักสี่อยู่ที่ประมาณ 250,000 – 380,000 บาทต่อตารางวา

แต่พื้นที่ตามนวถนนรามอินทราราคาที่ดินอยู่ที่ประมาณ 250,000 – 300,000 บาทต่อตารางวา

และต่ำกว่า 300,000 บาทต่อตารางวาไปจนถึงประมาณ 200,000 บาทต่อตารางวาในพื้นที่ใกล้กับสถานีมีนบุรีซึ่งเป็นสถานีปลายทาง

ราคาที่ดินของพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู

โดยเฉพาะในพื้นที่ตามแนวถนนรามอินทรามีความเป็นไปได้ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงตามศักยภาพของที่ดินที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครที่คาดว่าจะประกาศใช้ปีพ.ศ.2568

ถ้าพื้นที่ใดก็ตามสามารถพัฒนาอาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่มากกว่า 10,000 ตารางเมตรได้

ราคาที่ดินอาจมีการปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าปัจจุบัน แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับ FAR ที่จะประกาศออกมาตามผังเมืองด้วย

พื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูเป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนามายาวนานแล้ว

นอกจากจะเป็นพื้นที่ที่มีที่อยู่อาศัยอยู่เยอะแล้ว

ยังเป็นอีก 1 พื้นที่ที่มีโครงการพื้นที่ค้าปลีกหลายแห่ง

ตั้งแต่ต้นถนนแจ้งวัฒนะต่อเนื่องมาถึงถนนรามอินทรา

และมีทั้งคอมมูนิตี้มอลล์ ไฮเปอร์มาร์เก็ต และศูนย์การค้า นอกจากนี้ยังมีร้านค้า หรือร้านแบบไดร์ฟทรูหลากหลาย

รวมไปถึงยังมีโครงการพื้นที่ค้าปลีกที่กำลังก่อสร้างอยู่อีก

เช่น พอร์โทเบลโลมอลล์ แจ้งวัฒนะของวันออริจิ้นที่ร่วมทุนกับทางแอสเซทบลูมซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน

โครงการตั้งอยู่ที่สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติบนที่ดินขนาด 14 ไร่ พื้นที่รวม 10,000 ตารางเมตร

และในอนาคตจะมี”อิออน มอลล์” เพิ่มขึ้นมาอีกที่สถานีคู้บอน

โดยมีข่าวออกมาว่ากลุ่มอิออนเช่าที่ดินขนาดประมาณ 15 ไร่ ตรงสถานีคู้บอนเรียบร้อยแล้ว

รอแค่เวลาในการรื้อถอนตึกแถว 65 ห้องออกไปเท่านั้น

โดยคาดว่าการก่อสร้างจะเริ่มได้ในปีพ.ศ.2567 อาจจะเปิดให้บริการได้ในปีพ.ศ.2568

ยังไม่มีรายละเอียดหรือรูปแบบโครงการออกมาในตอนนี้

Recent Articles

‘ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ผนึกพาร์ทเนอร์ รุกอสังหาฯ สีเขียว

ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ปูทางสู่อนาคต “สิ่งแวดล้อมที่ดี ธุรกิจเติบโตยั่งยืน” ดันนวัตกรรมปูนซีเมนต์-คอนกรีตคาร์บอนต่ำ สู่การใช้งานในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างของไทย ผ่านโมเดลความร่วมมือกับพันธมิตร ร่วมลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ มุ่งมั่นสร้างการมีส่วนร่วมกับพันธมิตร ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เดินหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2573 นายมนตรี นิธิกุล...

แลนดี้ โฮม จับมือ Gluta Story เปิดตัวแบบบ้านใหม่

ศูนย์รับสร้างบ้านแลนดี้ โฮม (Landy Home) ตอกย้ำภาพผู้นำตลาดรับสร้างบ้าน จับมือ “Gluta Story” Influencer ชื่อดังสายสัตว์เลี้ยง ขวัญใจคนรักสัตว์ พัฒนาแบบบ้านใหม่ “Pet Friendly Collection” เจาะกลุ่มตรงใจสาย Pet Lover 2 แบบ 2 สไตล์...

กลุ่มรัตนรักษ์เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในปูนซีเมนต์นครหลวง

ในวันนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของปูนซีเมนต์นครหลวงได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมในจำนวนร้อยละ 25.54 จาก Jardine Cycle & Carriage Limited ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มรัตนรักษ์รวมกันเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 71.88 ซึ่งการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ทำให้ต้องมีการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นรายย่อยตามมา ทั้งนี้ บริษัทเข้าใจว่า ไม่ว่าการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวจะมีผลเป็นอย่างไร ปูนซีเมนต์นครหลวงจะยังคงเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจดทะเบียนที่เกี่ยวข้อง โดยภายหลังการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ ในฐานะผู้ก่อตั้งปูนซีเมนต์นครหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุมเพียงรายเดียว

ครั้งแรกของประเทศ! “LIV-24” ผนึก “ภาครัฐผู้กำกับนโยบายอุตสาหกรรม”

• ปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของประเทศไทย ภาครัฐ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม กนอ. และ สภาอุตสาหกรรม ผนึกกำลังภาคเอกชน โดย LIV-24 จัดงานใหญ่แห่งปี ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่ยุคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วย AI และ INDUSTRIAL TECH • ผู้ประกอบการเร่งปรับตัว...

‘พาร์คสีลม’ ต้อนรับเจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์)

“พาร์ค สีลม” อาคารสำนักงานเกรดเอ เปิดบ้านต้อนรับ เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) เปิดสำนักงานใหม่ ใจกลางถนนสีลม นางอรฤดี ณ ระนอง กรรมการบริหาร บริษัท นายณ์ แอนด์ อาร์จีพี ดีเวลลอปเม้นท์...