31.7 C
Bangkok
Saturday, July 27, 2024

สี่แยกไฟฉายนะไม่ใช่สามแยกไฟฉายแล้ว

เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าเส้นทางยาวที่เชื่อมต่อพื้นที่ฝั่งธนบุรีและฝั่งพระนครเข้าด้วยกัน

เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินนี้ผ่านถนนจรัญสนิมทวงศ์มากถึงประมาณ 10 กิโลเมตรและแน่นอนว่าสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับพื้นที่ตลอดแนวเส้นทางได้อย่างแน่นอน

โดยพื้นที่ที่อาจจะเห็นการเปลี่ยนแปลงก่อนพื้นที่หรือทำเลอื่นๆ ก็เป็นพื้นที่ที่มีความเป็นชุมชนหรือว่ามีความพร้อมอยู่แล้ว เช่น พื้นที่รอบๆ แยก 35 โบว์ล บางขุนนนท์ สี่แยกท่าพระ เป็นต้น

แต่ก็มีหลายๆ ทำเลหรือพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ เพราะติดเรื่องของสภาพแวดล้อมหรือสภาพของที่ดินในปัจจุบันที่อาจจะไม่เอื้อประโยชน์ในการพัฒนา เช่นเดียวกับพื้นที่รอบๆ สามแยกไฟฉาย หรือปัจจุบันเป็นสี่แยกไฟฉายไปแล้ว

ตลาดปากคลองตลาดแห่งใหม่หรือศูนย์กลางตลาดดอกไม้ปากคลองตลาดใหม่ ที่อยู่บนถนนพระเทพไม่ไกลจากสี่แยกไฟฉายเท่าใดนัก

เป็นอีก 1 ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการมีถนนเส้นทางใหม่ประกอบกับการมีเส้นทางรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ และศักยภาพของที่ดินที่เปลี่ยนแปลงไป

ตลาดแห่งนี้ตั้งอยู่บนที่ดินขนาดกว่า 50 ไร่ ซึ่งนอกจากจะขายดอกไม้แล้วยังมีผลไม้ และอาหารอื่นๆ ด้วย อาจจะไม่ใช่ปัจจัยเพิ่มความน่าสนใจในพื้นที่นี้

แต่ก็แสดงให้เห็นว่าพื้นที่นี้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหลังจากมีถนนตัดใหม่

ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินนั้นอาจจะยังไม่ชัดเจนเท่าใดนัก

ยกเว้นเรื่องของราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นแบบชัดเจนจริง เพราะปรับเพิ่มขึ้นมาเท่าตัวในปัจจุบันมีราคาซื้อขายกันไม่ต่ำกว่า 250,000 บาทต่อตารางวาไปแล้ว บางแปลงในบางทำเลขายกันที่มากกว่า 450,000 บาทต่อตารางวา

เมื่อราคาที่ดินสูงขึ้นแบบปัจจุบันมีแต่การพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมเท่านั้น จึงจะให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมและคุ้มค่ากับการลงทุนของผู้ประกอบการที่เข้ามาซื้อที่ดินเพื่อนำไปพัฒนาต่อในอนาคต

โครงการรูปแบบอื่นๆ อาจจะเห็นได้ยากในพื้นที่รอบๆ สี่แยกไฟฉาย และพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

ยกเว้นเจ้าของที่ดินจะพัฒนาที่ดินที่มีอยู่ในมือของตนเองให้เป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์รูปแบบอื่นๆ

Recent Articles

กลุ่ม SMEs อสังหาฯ เดินหน้าปรับตัว ตั้งการ์ดสู้วิกฤต

กลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวเนื่องกับภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ออกแบบ โรงงานวัสดุก่อสร้าง กลุ่มผู้ประกอบการด้านการตกแต่งสถานที่และการจัดสวน ได้รวมตัวกันเพื่อแสดงจุดยืน ขอความเห็นใจและเรียกร้องทุกภาคส่วนร่วมเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจ และส่งเสียงถึงรัฐบาลเร่งมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ให้มากขึ้นอย่างเร่งด่วน เพื่อให้สามารถพยุงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้เดินหน้าผ่านวิกฤตเศรษฐกิจชะลอตัวในครั้งนี้ไปได้ ซึ่งได้มีการเตรียมพร้อมและวางแผนการทำงานอย่างรอบคอบ ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ มาอย่างต่อเนื่องแล้ว แต่ปัจจุบันภาคอสังหาริมทรัพย์เองก็ได้รับผลกระทบมาเป็นระยะๆ ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ทั้งต้นน้ำและปลายน้ำของ Supply Chain ได้รับผลกระทบแบบโดมิโน จนอาจถึงขั้นต้องปิดกิจการเป็นจำนวนมาก  

‘แลนดี้ โฮม’ บุกเชียงใหม่!

แลนดี้ โฮม เปิดตลาดภาคเหนือ ปักหมุดเชียงใหม่ พื้นที่เศรษฐกิจขยายตัวสูง ชูนวัตกรรมบ้านสุขภาพดี สร้างบ้านพร้อมติดตั้งระบบป้องกันฝุ่น PM 2.5 ไปกับตัวบ้าน เจาะกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสร้างบ้านหลังใหญ่ที่มีความกังวลปัญหามลพิษทางอากาศ, ไม่มีเวลาควบคุมงาน รวมถึงต้องการให้บริษัทที่มีความเป็นมืออาชีพเข้ามาดูแลในทุกขั้นตอน พร้อมทุ่มงบกว่า 50 ล้านบาท ในการเปิดสาขาและสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักกับคนในพื้นที่ ตั้งเป้ายอดขาย 100 ล้านบาทในปี 2567 พิเศษ!...

กลุ่มสยามสินธร จับมือ Wake Up Waste

กลุ่มสยามสินธร ยึดมั่นแนวทางองค์กรธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีแห่งความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง จับมือพันธมิตร Wake Up Waste แพลตฟอร์มบริหารจัดการ ซื้อขายขยะรีไซเคิล และรถบีบอัดช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการขยะ จากบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC เจ้าของรางวัล Gold Award จากเวที Marketing Award...

AWC เปิดโครงการ “Phenix” ศูนย์กลางด้านอาหารครบวงจรระดับโลก

กรุงเทพฯ 26 มิถุนายน 2567 – นายกรัฐมนตรี สถานทูต ภาครัฐ ภาคเอกชนวงการอาหาร และบริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จํากัด (มหาชน) หรือ AWC ร่วมรวมพลังเปิดโครงการ “Phenix” (ฟีนิกซ์)...

TCMA ผนึกทุกภาคส่วนเร่งเดินหน้า

TCMA สานต่อความสำเร็จประชุมสุดยอดผู้นำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ทั่วโลก “GCCA CEO Gathering and Leaders Conference 2024” ผนึกทุกภาคส่วนเดินหน้าสู่การบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี 2593 มุ่งหน้าเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด คู่ขนานพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมดักจับ/ใช้ประโยชน์/กักเก็บคาร์บอน พร้อมบริหารจัดการกรีนฟันด์ 212 ล้านบาทให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตอบสนองเป้าหมาย Net Zero 2050