26.9 C
Bangkok
Friday, September 13, 2024

หุ้นกู้ทางเลือกของบริษัทที่ต้องการเงินทุนแบบรวดเร็ว

การขอสินเชื่อโครงการอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปีนี้จึงอาจจะดูเหมือนไม่ง่าย ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ง่ายมาหลายปีแล้ว โดยเฉพาะในฝั่งของผู้ประกอบการ

ซึ่งเมื่อกำลังซื้อในตลาดไม่ดี ยอดขายหรือยอดจองไม่สูงมาก การขอสินเชื่อธนาคารเพื่อพัฒนาโครงการก็ทำได้ยากขึ้น

ผู้ประกอบหลายรายในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งมีทางเลือกอื่นๆ ในการหาเงินทุนมาพัฒนาโครงการหรือหมุนเวียนในบริษัทจึงเลือกวิธีการออกหุ้นกู้

แม้ว่าการออกหุ้นกู้จะต้องจ่ายดอกเบี้ยมากขึ้น และมากกว่าดอกเบี้ยธนาคาร แต่การได้เงินมาหมุนเวียนที่รวดเร็วกว่า ขั้นตอนในการตรวจสอบไม่มาก และนำมาหมุนเวียนในโครงการของตนเองได้สะดวก

เวลาใช้คืนก็มีกำหนดที่ตายตัวอยู่แล้วทั้งในเรื่องของระยะเวลา และดอกเบี้ย ผู้ประกอบการมีหน้าที่แค่หารายได้มาชำระเมื่อครบกำหนดก็เรียบร้อยไม่มีปัญหาอะไรแล้ว

ผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หลายรายออกหุ้นกู้ทั้งระยะสั้น และระยะยาวกันมากมาย ซึ่งที่ผ่านมาก็ไม่มีปัญหาอะไร ยกเว้นบางรายเท่านั้นที่เป็นข่าวว่าผิดนัดชำระหุ้นกู้ แต่รายอื่นๆ ก็ไม่มีปัญหาอะไร สามารถจัดการได้แบบไม่มีปัญหา

แต่ด้วยสถานการณ์ต่างๆ และทิศทางของกำลังซื้อที่ดูเหมือนจะไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ตอนปีที่แล้ว จึงเริ่มมีความวิตกกังวลว่าอาจจะมีปัญหาเรื่องหุ้นกู้ของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ และปัญหาอาจจะใหญ่กว่าที่ผ่านมา

เพราะจำนวนของหุ้นกู้ในตลาดที่ออกจากผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้นมีไม่น้อย

แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องของหุ้นกู้นี้ก็อาจจะมีปัญหาไม่มากหรือไม่มีปัญหาอะไรเลยก็ได้ เพราะผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้ขาดแคลนเงินสด หรือไม่มีเงินทุนหมุนเวียนในบริษัทขนาดนั้น

เพียงแต่การออกหุ้นกู้เป็น 1 ในวิธีการใช้เงินคนอื่นเพื่อนำมาสร้างรายได้ให้กับบริษัทเท่านั้น

บางบริษัทที่มีปัญหาเรื่องของการผิดชำระหุ้นกู้ยังคงดำเนินกิจการอยู่ และมีการออกมาชี้แจงหรือแสดงความรับผิดชอบต่างๆ

แต่บางบริษัทเงียบหายไปเลย โดยเฉพาะในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีคนเดือดร้อนหลายคน แต่มีแค่มีจดหมายชี้แจงหรือว่าแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น

และอาจจะมีเรื่องของการขายที่ดิน หรือโครงการต่างๆ ที่ไม่สามารถก่อสร้างให้เสร็จสมบูรณ์ได้

การผิดนัดชำระหุ้นกู้หรือดอกเบี้ยมากกว่า 1 ครั้งนั่นแสดงให้เห็นถึงปัญหาภายในบริษัทที่ไม่สามารถแก้ไขได้แบบชัดเจนแล้ว และคงไม่สามารถหาเงินมาหมุนเวียนหรือชำระอะไรต่างๆ ได้แน่นอน

เพราะขาดความน่าเชื่อถือไปแล้ว ไม่ต้องหวังในเรื่องของการขายคอนโดมิเนียมหรือบ้าน ขอสินเชื่อธนาคารก็คงไม่ได้แน่นอน

ทำได้อย่างเดียว คือ การหารายได้จากช่องทางอื่นๆ ที่ไม่ต้องผ่านกลไกของตลาดหลักทรัพย์ เช่น กรรมการของบริษัท หรือนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนเพิ่มเติม

ถ้าการระดมทุนเพื่อแก้ไขปัญหาทำไม่ได้ ก็อาจจะเห็นการปิดกิจการของบริษัทที่มีปัญหาในรูปแบบนี้ในอีกไม่นาน ซึ่งการปิดบริษัทที่ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อาจจะส่งผลกระทบที่รุนแรงกว่าบริษัทที่ทำธุรกิจอื่นๆ

เพราะเกี่ยวพันกับคนจำนวนมาก ไม่เพียงแต่คนที่ซื้อหุ้น หรือหุ้นกู้เท่านั้น

เนื่องจากยังมีคนจำนวนมากที่ซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียมแล้วยังไม่ได้บ้านหรือคอนโดมิเนียมทั้งที่มีการจ่ายเงินบางส่วนให้กับบริษัทไปแล้ว

รวมไปถึงบริษัท ห้างร้านที่ส่งของหรือทำธุรกิจกับบริษัท

ยังรวมไปถึงพนักงานหรือคนที่เกี่ยวข้องในบริษัท ซึ่งแน่นอนว่าคงไม่ได้เงินในส่วนที่ต้องได้ทันทีที่บริษัทปิดตัวลง หรือหยุดดำเนินกิจการไปแบบเงียบๆ

Recent Articles

‘ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ผนึกพาร์ทเนอร์ รุกอสังหาฯ สีเขียว

ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ปูทางสู่อนาคต “สิ่งแวดล้อมที่ดี ธุรกิจเติบโตยั่งยืน” ดันนวัตกรรมปูนซีเมนต์-คอนกรีตคาร์บอนต่ำ สู่การใช้งานในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างของไทย ผ่านโมเดลความร่วมมือกับพันธมิตร ร่วมลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ มุ่งมั่นสร้างการมีส่วนร่วมกับพันธมิตร ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เดินหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2573 นายมนตรี นิธิกุล...

แลนดี้ โฮม จับมือ Gluta Story เปิดตัวแบบบ้านใหม่

ศูนย์รับสร้างบ้านแลนดี้ โฮม (Landy Home) ตอกย้ำภาพผู้นำตลาดรับสร้างบ้าน จับมือ “Gluta Story” Influencer ชื่อดังสายสัตว์เลี้ยง ขวัญใจคนรักสัตว์ พัฒนาแบบบ้านใหม่ “Pet Friendly Collection” เจาะกลุ่มตรงใจสาย Pet Lover 2 แบบ 2 สไตล์...

กลุ่มรัตนรักษ์เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในปูนซีเมนต์นครหลวง

ในวันนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของปูนซีเมนต์นครหลวงได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมในจำนวนร้อยละ 25.54 จาก Jardine Cycle & Carriage Limited ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มรัตนรักษ์รวมกันเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 71.88 ซึ่งการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ทำให้ต้องมีการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นรายย่อยตามมา ทั้งนี้ บริษัทเข้าใจว่า ไม่ว่าการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวจะมีผลเป็นอย่างไร ปูนซีเมนต์นครหลวงจะยังคงเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจดทะเบียนที่เกี่ยวข้อง โดยภายหลังการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ ในฐานะผู้ก่อตั้งปูนซีเมนต์นครหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุมเพียงรายเดียว

ครั้งแรกของประเทศ! “LIV-24” ผนึก “ภาครัฐผู้กำกับนโยบายอุตสาหกรรม”

• ปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของประเทศไทย ภาครัฐ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม กนอ. และ สภาอุตสาหกรรม ผนึกกำลังภาคเอกชน โดย LIV-24 จัดงานใหญ่แห่งปี ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่ยุคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วย AI และ INDUSTRIAL TECH • ผู้ประกอบการเร่งปรับตัว...

‘พาร์คสีลม’ ต้อนรับเจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์)

“พาร์ค สีลม” อาคารสำนักงานเกรดเอ เปิดบ้านต้อนรับ เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) เปิดสำนักงานใหม่ ใจกลางถนนสีลม นางอรฤดี ณ ระนอง กรรมการบริหาร บริษัท นายณ์ แอนด์ อาร์จีพี ดีเวลลอปเม้นท์...