35.8 C
Bangkok
Monday, September 16, 2024
- Advertisement -

TAG

สายสีน้ำเงิน

พื้นที่ตามแนวถนนจรัญสนิทวงศ์เปลี่ยนไปเยอะมาก

พื้นที่รอบๆ สถานีตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมีความน่าสนใจหลายพื้นที่ เพราะเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมีความยาวอีกทั้งเส้นทางส่วนใหญ่อยู่ในฝั่งธนบุรี ดังนั้น พื้นที่ตามแนวเส้นทางในฝั่งธนบุรีหลายๆ พื้นที่จึงเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา โดยพื้นที่ตามแนวถนนจรัญสนิทวงศ์เป็น 1 ในพื้นที่ที่เห็นการเปลี่ยนแปลง

พื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินยังน่าสนใจ

วันนี้ขอต่อเรื่องของตลาดคอนโดมิเนียมของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินอีกสักวัน จากข้อมูลที่รวบรวมมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา พื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าภาษีเจริญเป็นพื้นที่ที่มีจำนวนคอนโดมิเนียมมากกว่า 7,000 ยูนิตไปแล้ว มากกว่าพื้นที่รอบสถานีอื่นๆ แบบชัดเจน อาจจะมากที่สุดในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (ส่วนต่อขยาย)

คอนโดมิเนียมรอบสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินบางสถานี

พื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินบางสถานี เริ่มตั้งแต่สถานีรถไฟฟ้าเพชรเกษม 48, ภาษีเจริญ, บางแค และหลักสอง เป็นพื้นที่ที่มีคอนโดมิเนียมอยู่ค่อนข้างมาก เมื่อวานพูดถึงพื้นที่รอบๆ สถานีภาษีเจริญที่มีคอนโดมิเนียมจำนวน 7,149 ยูนิต

ตลาดคอนโดมิเนียมริมถนนเพชรเกษม

เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่ผ่านถนนเพชรเกษม สร้างการเปลี่ยนแปลงแบบครั้งใหญ่ให้กับพื้นที่ตามแนวถนนเพชรเกษม โดยก่อนที่เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจะเปิดให้บริการ อาจจะมีเพียงพื้นที่รอบๆ บางหว้า ท่าพระ หรือบางแค่เท่านั้น ที่มีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขาย แต่หลังจากการเปิดให้บริการของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

ตลาดคอนโดมิเนียมในพื้นที่เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (เตาปูน – ท่าพระ – หลักสอง)

ช่วงเวลาที่การก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงเตาปูน – ท่าพระ – หลักสองมีความคืบหน้าเป็นรูปธรรม เริ่มมีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายมมากขึ้นในพื้นที่ตามแนวเส้นทาง ซึ่งเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ปีพ.ศ.2557 เป็นต้นมา เมื่อเส้นทางรถไฟฟ้าเปิดให้บริการครบทั้ง 2 เส้นทางแล้วในปีพ.ศ.2562 – 2563 จึงมีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายลดลง เพราะหลายโครงการยังไม่สามารถปิดการขายได้

คอนโดมิเนียมรอบสถานีรถไฟฟ้าบางหว้า

พื้นที่ถนนเพชรเกษมอีกจุดที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตพอสมควรคือ บางหว้า หรือจุดที่เป็นสถานีรถไฟฟ้าร่วมระหว่างสายสีเขียว และสายสีน้ำเงินที่สถานีบางหว้า ซึ่งเป็นสถานีร่วมของรถไฟฟ้าที่อยู่ติดกันจริงๆ พื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าบางหว้ามีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2554 อาจจะมีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายมาก่อนหน้านี้แล้วแต่เป็นโครงการที่มีรูปแบบเก่า จากนั้นก็เริ่มมีโครงการคอนโดมิเนียมเพิ่มเติมเข้ามาในพื้นที่นี้เรื่อยๆ แต่ชะลอไปตั้งแต่ปีพ.ศ.2561 เพราะโครงการล่าสุดที่เปิดขายในพื้นที่นี้คือเปิดขายในปีพ.ศ.2561

สี่แยกท่าพระในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากมาย

พื้นที่ต่อเนื่องจากบางหว้าที่มีการเปลี่ยนแปลต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแล้วหยุดไป คือ สี่แยกท่าพระ เป็นอีกพื้นที่ที่เงียบลงไปในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้ค่อนข้างมีการเปลี่ยนแปลงมากมายโดยเห็นตั้งแต่ปีพ.ศ.2553 เป็นต้นมา คอนโดมิเนียมสะสมในพื้นที่รอบสี่แยกท่าพระตั้งแต่ปีพ.ศ.2551 – 2564...

บางแคในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตเยอะมาก

จริงๆ แล้วกว่าที่บางแคจะเป็นแบบทุกวันนี้ก็ผ่านอะไรที่แย่ๆ มาไม่น้อยเหมือนกัน โดยเฉพาะช่วงหลังจากวิกฤตต้มยำกุ้งในปีพ.ศ.2540 จากที่เคยมีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ซูเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้าเกิดขึ้นมากมายในช่วงพ.ศ.2530 – 2539 กลับเหลือรอดวิกฤตมาได้แค่เดอะมอลล์ บางแคที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภายในมาต่อเนื่องเช่นกัน

ตลาดคอนโดมิเนียมในพื้นที่บางแค

ปัจจุบันพื้นที่รอบๆ ตลาดบางแคต่อเนื่องถึงพื้นที่โดยรอบตามแนวถนนเพชรเกษม หรือเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เป็นอีก 1 พื้นที่ที่มีโครงการคอนโดมิเนียมอยู่ไม่น้อย เฉพาะพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าภาษีเจริญก็ 6,000 กว่ายูนิตแล้ว และทุกโครงการในพื้นที่นี้ยังเหลือขายอยู่พอสมควร แต่โครงการคอนโดมิเนียมในพื้นที่บางแคก่อนหน้านี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โครงการคอนโดมิเนียมโครงการแรกที่มีความทันสมัยหรือมีรูปแบบของโครงการไม่ได้แตกต่างจากโครงการในปัจจุบันเปิดขายในช่วงหลังจากปีพ.ศ.2550 และสามารถปิดการขายได้แบบทันที

Latest news

‘ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ผนึกพาร์ทเนอร์ รุกอสังหาฯ สีเขียว

ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ปูทางสู่อนาคต “สิ่งแวดล้อมที่ดี ธุรกิจเติบโตยั่งยืน” ดันนวัตกรรมปูนซีเมนต์-คอนกรีตคาร์บอนต่ำ สู่การใช้งานในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างของไทย ผ่านโมเดลความร่วมมือกับพันธมิตร ร่วมลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ มุ่งมั่นสร้างการมีส่วนร่วมกับพันธมิตร ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เดินหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2573 นายมนตรี นิธิกุล...

แลนดี้ โฮม จับมือ Gluta Story เปิดตัวแบบบ้านใหม่

ศูนย์รับสร้างบ้านแลนดี้ โฮม (Landy Home) ตอกย้ำภาพผู้นำตลาดรับสร้างบ้าน จับมือ “Gluta Story” Influencer ชื่อดังสายสัตว์เลี้ยง ขวัญใจคนรักสัตว์ พัฒนาแบบบ้านใหม่ “Pet Friendly Collection” เจาะกลุ่มตรงใจสาย Pet Lover 2 แบบ 2 สไตล์...

กลุ่มรัตนรักษ์เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในปูนซีเมนต์นครหลวง

ในวันนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของปูนซีเมนต์นครหลวงได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมในจำนวนร้อยละ 25.54 จาก Jardine Cycle & Carriage Limited ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มรัตนรักษ์รวมกันเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 71.88 ซึ่งการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ทำให้ต้องมีการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นรายย่อยตามมา ทั้งนี้ บริษัทเข้าใจว่า ไม่ว่าการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวจะมีผลเป็นอย่างไร ปูนซีเมนต์นครหลวงจะยังคงเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจดทะเบียนที่เกี่ยวข้อง โดยภายหลังการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ ในฐานะผู้ก่อตั้งปูนซีเมนต์นครหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุมเพียงรายเดียว

ครั้งแรกของประเทศ! “LIV-24” ผนึก “ภาครัฐผู้กำกับนโยบายอุตสาหกรรม”

• ปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของประเทศไทย ภาครัฐ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม กนอ. และ สภาอุตสาหกรรม ผนึกกำลังภาคเอกชน โดย LIV-24 จัดงานใหญ่แห่งปี ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่ยุคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วย AI และ INDUSTRIAL TECH • ผู้ประกอบการเร่งปรับตัว...

‘พาร์คสีลม’ ต้อนรับเจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์)

“พาร์ค สีลม” อาคารสำนักงานเกรดเอ เปิดบ้านต้อนรับ เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) เปิดสำนักงานใหม่ ใจกลางถนนสีลม นางอรฤดี ณ ระนอง กรรมการบริหาร บริษัท นายณ์ แอนด์ อาร์จีพี ดีเวลลอปเม้นท์...
- Advertisement -