29.7 C
Bangkok
Saturday, July 27, 2024

เจริญนครในปัจจุบัน

ปัจจุบันพื้นที่ตามแนวถนนเจริญนครเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตค่อนข้างมาก

แม้แต่พื้นที่รอบท่าเรือคลองสาน และท่าเรือเป๊ปซี่หรือท่าเรือดูเม็กซ์ที่ก่อนหน้านี้สัก 20 ปีมีคนใช้บริการวันละหลักพัน หลักหมื่นคน แต่ตอนนี้แทบนับจำนวนคนได้

เพราะรูปแบบของการเดินทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเปลี่ยนแปลงไป คนจำนวนมากนั่งรถไฟฟ้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาจากฝั่งธนบุรีไปฝั่งพระนครกันมากขึ้น

ยิ่งหลังจากที่เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเปิดให้บริการครบเส้นทางคนจากฝั่งธนบุรีข้ามไปฝั่งพระนครได้สะดวกมากขึ้นกว่าในอดีตเยอะเลย

ความต้องการใช้บริการเรือข้ามฟากจึงลดลงไปแบบเห็นได้ชัด ความคึกคักของท่าเรือคลองสานและพื้นที่โดยรอบก็เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน แล้วตอนนี้ตลาดคลองสานก็รื้อทิ้งไปแล้ว

แม้ว่าตอนนี้จะมีไอคอนสยามเปิดให้บริการแล้ว แต่จำนวนคนที่ใช้บริการเรือข้ามฟากก็ไม่ได้มากมายอะไร เพราะตัวเลือกในการเดินทางมีหลายเส้นทาง

แต่ก็ช่วยให้พื้นที่โดยรอบท่าเรือคลองสานเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตค่อนข้างมาก มีโครงการคอนโดมิเนียม ร้านค้ารูปแบบใหม่ หรือโครงการอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย พื้นที่อื่นๆ ตามแนวถนนเจริญนครก็เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน

พื้นที่รอบๆ ท่าเรือเป๊ปซี่หรือท่าเรือข้ามแม่น้ำเข้าพระยาข้างสะพานสาทรก็เป็นอีก 1 พื้นที่ที่ก่อนหน้านี้สัก 10 กว่าปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น

เนื่องจากมีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายหลายโครงการ มีคอมมูนิตี้มอลล์เปิดให้บริการในระยะที่เดินได้จากท่าเรือข้ามฟากแห่งนี้ แต่สัก 5 – 6 ปีที่ผ่านมาก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากก่อนหน้านี้แล้ว

แม้ว่าในปีพ.ศ.2557 กลุ่มทีซีซีจะซื้อที่ดินขนาด 10 ไร่ที่เป็นโกดังน้ำอัดลมยี่ห้อหนึ่งติดกับท่าเรือข้ามฟากนี้ไปในราคาตารางวาละ452,000 บาท แต่จนปัจจุบันก็ยังไม่มีการพัฒนาอะไรบนที่ดินแปลงดังกล่าว

และด้วยความนิยมของท่าเรือข้ามฟากที่ลดลง คอมมูนิตี้มอลล์ขนาดเล็กที่อยู่บนที่ดินในพื้นที่โดยรอบได้รับความนิยมลดลงเช่นกัน

พื้นที่ตามแนวถนนเจริญนครจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงในบางช่วงของถนน และบางทำเลเท่านั้น โดยเฉพาะในพื้นที่ตามแนวถนนเจริญนครที่อยู่ทางทิศเหนือของสะพานสาทร

Recent Articles

กลุ่ม SMEs อสังหาฯ เดินหน้าปรับตัว ตั้งการ์ดสู้วิกฤต

กลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวเนื่องกับภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ออกแบบ โรงงานวัสดุก่อสร้าง กลุ่มผู้ประกอบการด้านการตกแต่งสถานที่และการจัดสวน ได้รวมตัวกันเพื่อแสดงจุดยืน ขอความเห็นใจและเรียกร้องทุกภาคส่วนร่วมเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจ และส่งเสียงถึงรัฐบาลเร่งมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ให้มากขึ้นอย่างเร่งด่วน เพื่อให้สามารถพยุงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้เดินหน้าผ่านวิกฤตเศรษฐกิจชะลอตัวในครั้งนี้ไปได้ ซึ่งได้มีการเตรียมพร้อมและวางแผนการทำงานอย่างรอบคอบ ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ มาอย่างต่อเนื่องแล้ว แต่ปัจจุบันภาคอสังหาริมทรัพย์เองก็ได้รับผลกระทบมาเป็นระยะๆ ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ทั้งต้นน้ำและปลายน้ำของ Supply Chain ได้รับผลกระทบแบบโดมิโน จนอาจถึงขั้นต้องปิดกิจการเป็นจำนวนมาก  

‘แลนดี้ โฮม’ บุกเชียงใหม่!

แลนดี้ โฮม เปิดตลาดภาคเหนือ ปักหมุดเชียงใหม่ พื้นที่เศรษฐกิจขยายตัวสูง ชูนวัตกรรมบ้านสุขภาพดี สร้างบ้านพร้อมติดตั้งระบบป้องกันฝุ่น PM 2.5 ไปกับตัวบ้าน เจาะกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสร้างบ้านหลังใหญ่ที่มีความกังวลปัญหามลพิษทางอากาศ, ไม่มีเวลาควบคุมงาน รวมถึงต้องการให้บริษัทที่มีความเป็นมืออาชีพเข้ามาดูแลในทุกขั้นตอน พร้อมทุ่มงบกว่า 50 ล้านบาท ในการเปิดสาขาและสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักกับคนในพื้นที่ ตั้งเป้ายอดขาย 100 ล้านบาทในปี 2567 พิเศษ!...

กลุ่มสยามสินธร จับมือ Wake Up Waste

กลุ่มสยามสินธร ยึดมั่นแนวทางองค์กรธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีแห่งความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง จับมือพันธมิตร Wake Up Waste แพลตฟอร์มบริหารจัดการ ซื้อขายขยะรีไซเคิล และรถบีบอัดช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการขยะ จากบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC เจ้าของรางวัล Gold Award จากเวที Marketing Award...

AWC เปิดโครงการ “Phenix” ศูนย์กลางด้านอาหารครบวงจรระดับโลก

กรุงเทพฯ 26 มิถุนายน 2567 – นายกรัฐมนตรี สถานทูต ภาครัฐ ภาคเอกชนวงการอาหาร และบริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จํากัด (มหาชน) หรือ AWC ร่วมรวมพลังเปิดโครงการ “Phenix” (ฟีนิกซ์)...

TCMA ผนึกทุกภาคส่วนเร่งเดินหน้า

TCMA สานต่อความสำเร็จประชุมสุดยอดผู้นำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ทั่วโลก “GCCA CEO Gathering and Leaders Conference 2024” ผนึกทุกภาคส่วนเดินหน้าสู่การบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี 2593 มุ่งหน้าเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด คู่ขนานพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมดักจับ/ใช้ประโยชน์/กักเก็บคาร์บอน พร้อมบริหารจัดการกรีนฟันด์ 212 ล้านบาทให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตอบสนองเป้าหมาย Net Zero 2050